วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

มลพิษทางดิน


มลพิษทางดิน


มลพิษทางดิน หมายถึงดินที่เสื่อมค่าไป จากเดิม และหรือมีสารมลพิษเกินขีดจำกัดจนเป็นอันตราย

ต่อสุขภาพ และพลานามัย ตลอดจน การเจริญเติบโตของพืช และสัตว์ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม (เกษม จันทร์แก้ว , 2530 : 162)


        ปัญหามลพิษของดิน เกิดขึ้นจากการทำลายหรืการเกิดการถดถอยของคุณภาพหรือคุณลักษณะของสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ที่เกิดจากมลสาร (Pollutant) ที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ดินเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็ก สามารถฟุ้งกระจายไปในอากาศ มลสารของดินที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศนั้น ความรุนแรงขึ้นอยู่กับอนุภาคดินนั้นมีองค์ประกอบอย่างไร สภาพทางอุตุนิยมวิทยา สภาพพื้นที่ เป็นต้น ในกรณีที่คล้ายคลึงกัน หากอนุภาคดินถูกพัดพาไปยังแหล่งน้ำ ดินที่เป็นมลสารจะก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ โดยตรงทั้งทางคุณภาพและปริมาณ อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาโดยอ้อมเมื่ออนุภาคดินนั้นมีธาตุอาหารที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชน้ำ ก่อให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในแหล่งน้ำ สัตว์น้ำในแหล่งน้ำนั้นได้รับผลกระทบเกิดกลิ่นเหม็นของก๊าซไข่เน่า (hydrogen sulfide, H2S)


           ในขณะเดียวกันดินเป็นแหล่งรองรับของเสีย รองรับมลสารต่างๆ จากอากาศ จากน้ำ จากกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์ จากกิจกรรมต่างๆ ดินทำหน้าที่ในการดูดซับมลสารต่างๆ ซึ่งเปรียบได้กับการลดมลพิษ แต่หากดินทำหน้าที่ในการรับมลสารต่างๆ มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มลสารที่ย่อยสลายไม่ได้ ปัญหามลพิษทางดินจะเกิดขึ้น มีผลทำให้ความสามารถของดินที่เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืชลดลง ผลผลิต
ที่ได้ลดลง หรือคุณภาพของผลผลิตลดลงไม่เหมาะสมในการบริโภค เพราะมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเกินกว่าระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์ได้

 สารมลพิษในดินอาจมีอยู่ในธรรมชาติ และโดยที่มนุษย์นำไปใส่ให้กับดิน หากมีมากจนถึงระดับที่เป็นพิษ จะทำให้สิ่งมีชีวิตหยุดการเจริญเติบโต มีการสะสมในโซ่อาหาร โดยจะพบในผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์
ที่มนุษย์บริโภค มนุษย์ก็จะได้รับสารพิษเหล่านั้น จนเกิดความผิดปกติขึ้น สุขภาพเสื่อมโทรมจนถึงเสียชีวิตได้ สารมลพิษในดิน ยังทำให้จุลินทรีย์ในดิน ทำงานไม่ได้ ทำลายการดูดซึม ธาตุอาหารของรากพืช อันตรายจากมลพิษทางดิน เนื่องจากดินมีสารมลพิษหลายชนิดปะปนอยู่ ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในดินเพิ่มขึ้น แต่มีออกซิเจนน้อยลง จึงมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจน สารมลพิษจากดินสามารถกระจัดกระจายสู่แหล่งน้ำ และอากาศจึงก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำ และอากาศได้ อันตรายของมลภาวะทางดินต่อสิ่งมีชีวิต มีดังนี้

            1. อันตรายต่อมนุษย์
มนุษย์จะได้รับพิษของสารประกอบไนเทรต ไนไทรต์ในยาปราบศัตรูพืช จากน้ำดื่ม น้ำใช้ในแหล่งเกษตรกรรม และจากผลผลิตทางการเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ จนถึงระดับที่เป็นพิษต่อร่างกายได้

           2. อันตรายต่อสัตว์
สัตว์ที่หากินในดินจะได้รับพิษจากการสัมผัสสารพิษในดินโดยตรงและจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษปะปนอยู่ สารพิษที่ได้รับส่วนใหญ่จะเป็นยาฆ่าแมลงที่นอกจากจะทำลายศัตรูพืชแล้วยังทำลายศัตรูธรรมชาติ ซึ่งเป็นปรสิตไปด้วยทำให้เกิดการระบาดของแมลงบางชนิดที่เป็นอันตรายต่อพืชในภายหลัง หรืออาจเกิดการทำลายแมลงที่ช่วยผสมเกสรดังนั้นผลผลิตอาจลดลงได้

          3. อันตรายต่อพืชและสิ่งมีชีวิตในดิน
พืชจะดูดซึมสารพิษเข้าไป ทำให้เจริญเติบโตผิดปกติ ผลผลิตต่ำ หรือเกิดอันตราย และการสูญพันธุ์ขึ้น แบคทีเรียที่สร้างไนเทรตในดิน หากได้รับยาฆ่าแมลง เช่น ดีลดริน อัลดริน และคลอเดน ที่มีความเข้มข้น 100 พีพีเอ็ม จะทำให้กระบวนการสร้างไนเตรตของแบคทีเรียได้รับความกระทบกระเทือน

สาเหตุของการเกิดมลพิษทางดินส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์ ที่ใช้ประโยชน์จากสารเคมีด้านต่างๆ

         1. การใช้ปุ๋ยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตรแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
ปุ๋ยเคมีที่ประกอบด้วยธาตุหลักสำคัญของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแตสเซียม (K)
เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ดินเปรี้ยว มีสภาพความเป็นกรดสูงไม่เหมาะสมแก่การปลูกพืช
ทั้งนี้อาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ การเพาะปลูกที่ไม่ถูกวิธีทำให้ดินเกิดการเสื่อมโทรม หรืออาจเกิด
จากธรรมชาติเป็นผู้ทำลายทรัพยากรดินได้

         2. การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (pesticides) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีฤทธิ์ทำลายสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่ให้ประโยชน์หรือโทษต่อการเกษตรกรรม แม้แต่ผลกระทบต่อมนุษย์ด้วย สารเคมี
ที่สลายตัวได้ช้าจะตกค้างในดิน เช่นสารประเภทคลอริเนเตตไฮโดรคาร์บอนหรือออร์กาโนคลอรีน (organochlorine) เป็นที่สารประกอบด้วยอะตอมคลอรีน (Cl) ได้แก่ ดีดีที (DDT) ที่ใช้ในการเพาะปลูก
การควบคุมการแพร่ระบาดของมาลาเรีย และการควบคุมแมลงอื่นๆ, ดิลดรีน (dieldrin) ที่ใช้ในกำจัดแมลง
ในการเกษตรและ กำจัดปลวก, อัลดรีน (aldrin) ที่ใช้ในการเพาะปลูก กำจัดปลวกและแมลง การสะสมของ
สารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชต่างๆ จะทำให้เกิดมลพิษทางดินต่อไป

         3. การปล่อยให้น้ำเสียจากกระบวนการผลิต น้ำเสียส่วนใหญ่ที่มาจากกระบวนการเหล่านี้จะเกิดการ
ชะล้างผ่านสารเคมีต่างๆ ในอุตสาหกรรม เช่น สารพีซีบี (PCB) ที่ใช้ในการผลิตสีและพลาสติก สารเอชซีบี (HCB) ที่ใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์

        4. การทิ้งขยะ มลพิษทางดินส่วนใหญ่เกิดจากการทิ้งขยะที่เกิดจากสารเคมีซึ่งยากต่อการย่อยสลาย
เช่น กระป๋อง เศษโลหะ และพลาสติก ขยะเหล่านี้จะสะสมในดินจนทำให้เกิดภาวะมลพิษทางดิน นอกจากนี้ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นหากไม่มีการกำจัดที่ถูกวิธีจะส่งผลกระทบให้เกิดมลพิษทางดินมากขึ้น


ปัญหามลพิษทางดินสามารถพิจารณาเป็นแง่มุมใหญ่ๆ ได้ 3 แง่มุมคือ 


             1. ดิน เป็นมลสารที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษ
             ส่วนประกอบของดินมีความเตกต่างกันตามลักษณะของสภาวะแวดล้อม อีกทั้งส่วนประกอบของดิน
จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการกระทำของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยการผลิต 
การทิ้ง ทั้งในระหว่างกระบวนการผลิตหรือการทิ้งสิ่งของในลักษณะต่างๆ เช่น การล้าง การชำระสิ่งต่างๆ  บางส่วนของมลสารสามารถถูกย่อยสลายได้โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ในขณะที่บางส่วนนั้น ยังคงตกค้างในดินเป็นระยะเวลานาน ส่วนประกอบของดินเป็นตัวกำหนดความรุนแรงของปัญหามลพิษทางดิน หากมีส่วนประกอบของเชื้อโรค สารเคมี สารกำจัดศัตรูพืช สารพิษ มากถึงระดับที่เป็นอันตราย เมื่อดินเหล่านี้ถูกพัดพาไปยังแหล่งน้ำ อากาศ จะสามารถทำให้น้ำและ อากาศมีปัญหาตามมาได้ ทั้งนี้ปัญหารุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมหรือรุนแรงน้อยกว่าเดิมขึ้นกับความสามารถในการจัดการ การควบคุม การกำหนดขอบเขตในการแก้ไขปัญหา และความสามารถในการแก้ปัญหา



                       1.1 ดินเป็นมลสารที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ


                             การฟุ้งกระจายของเม็ดดินในรูปของฝุ่นก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ ความรุนแรงของปัญหาและบริเวณที่เกิดปัญหาจะขึ้นอยู่กับสภาพของอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งขนาดของ เม็ดดิน ที่ฟุ้งกระจาย 
นอกจากการเกิดปัญหาดังกล่าวแล้ว ฝุ่นของดินยังก่อให้เกิดปัญหา มลภาวะทางสายตา ผงฝุ่น ยังทำให้ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของพืชลดลง อีกทั้งยังทำให้ระบบหายใจของมนุษย์และสัตว์มีปัญหา 



                             ปริมาณกากตะกอนที่กองอยู่บนดินและมูลสัตว์ต่างๆ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดปัญหาเรื่องกลิ่นและการปลดปล่อยก๊าซหลายชนิดสู่บรรยากาศเช่น มีเทน (CH4) สารประกอบของไนโตรเจนและสารประกอบของซัลเฟอร์ ทำให้เกิดปัญหาอันจะเป็นส่วนทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้


                            นอกจากนี้ดินยังปลดปล่อยสารประกอบที่สามารถระเหยได้สู่บรรยากาศเช่นการปลดปล่อยไนโตรเจนในรูปของก๊าซ โดยกระบวนการดีไนตริฟิเคชั่น (Denitrification) การย่อยสลายของอินทรีย์สารต่างๆ ในดิน จะปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ซึ่งก๊าซทั้งสองชนิดนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกได้ด้วย

การปรับสภาพดินเสื่อมโทรมจากการใช้ดินที่ผิดวิธี

             การใช้ดินผิดวิธีทำให้มีการพังทลายของหน้าดิน ดินขาดแร่ธาตุ หรือเกิดจากธรรมชาติทำลายหน้าดิน เช่น พายุ ฝน การแก้ไขปัญหาที่เกิดกับสภาพดินที่เสื่อมโทรมโดยการปรับปรุงดิน มี 3 วิธีการตามสภาพของดินทำได้โดย

             1. ทำการปรับระดับผิวหน้าดินให้สามารถระบายน้ำที่ใช้ในการชะล้างความเป็นกรดของดิน

             2. การใช้ปูนคลุกหน้าดิน เพื่อลดความเป็นกรด เช่น ปูนมาร์ล 

             3. ปลูกพืชล้มลุกหรือพืชหมุนเวียนกันเพื่อไม่ให้ดินขาดสารอาหารและป้องการการชะล้างของหน้าดิน



ที่มา http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ecology/chapter4/chapter4_soil11.htm